วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


ป้องกันปัญหาเด็กติดเกมได้อย่างไร?


                  การป้องกันปัญหาลูกติดเกม ย่อมดีกว่ามาตามแก้ไขเมื่อลูกติดเกมไปแล้ว การสร้างเกราะป้องกันเพื่อไม่ให้ลูกต้องไปหลงเสียเวลาการกับเล่นเกมก็สามารถช่วยลดปัญหาได้อีกทางเพราะการป้องกันปัญหาย่อมจะดีกว่าการต้องมานั่งแก้ไขปัญหาภายหลัง ดังนี้

  • ·        ให้ความสำคัญในเนื้อหาของเกมที่ลูกเล่น ว่าเหมาะสมหรือไม่อย่างไร พ่อแม่ควรมีส่วนร่วมในการเลือกเกมให้ลูกโดยมีส่วนร่วมในการเลือกและตัดสินใจซื้อหรือเล่นกมต่างๆ ด้วย


  • ·        ควรเข้าไปเล่นเกมกับเด็กด้วย เพราะนอกจากจะได้เข้าไปกำกับดูแลเนื้อหาในเกมแล้วยังได้สังเกตดูพฤติกรรมและการตอบสนองของลูกต่อเกมต่างๆ สามารถสอดแทรกแนวความคิด ข้อคิดเห็นต่างๆ อีกด้านหนึ่งให้แก่ลูกในแง่ความถูกต้อง ความเหมาะสมในสังคมและโลกของความเป็นจริงมากขึ้น รวมถึงผลที่จะเกิดตามมาจากการกระทำนั้นๆ


  • ·        ให้คำแนะนำ ปลูกฝังบอกให้ลูกรู้ผลดีผลเสียในด้านต่างๆ ของการเล่นเกมมากเกินไป เช่น ขาดประสบการณ์ ขาดทักษะ ไม่ได้ทำกิจกรรมในด้านอื่นๆ ที่สำคัญและจำเป็นในการดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต ไม่มีเวลาทบทวนบทเรียน ผลการเรียนอาจต่ำลง ถ้าเล่นนานเกินไป ตาและกล้ามเนื้อตาไม่ได้หยุดพัก เกิดอาการปวดล้า ปวดตา และปวดศีรษะได้ บางคนเล่นเกมมากเกินไปจนเกิดการติดเกมทำให้การพักผ่อนไม่เพียงพอ กินอาหารไม่ตรงเวลา ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพและการเจริญเติบโต


  • ·        ควรศึกษาถึงชนิดของเกมต่างๆ ความรุนแรง ความเหมาะสม อายุและพัฒนาการของเด็กในวัยต่างๆ เพื่อจะช่วยในการเลือกได้อย่างเหมาะสมกับเด็ก โดยจะมีเครื่องหมายและคำอธิบายแสดงไว้ที่กล่องบรรจุเกมโดยกำหนดสัญลักษณ์ตามเกณฑ์อายุ


  • ·        กำหนดและควบคุมเวลาเล่นคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตของลูกให้ชัดเจน และควบคุมไม่ให้เด็กใช้เวลากับเกมคอมพิวเตอร์มากเกินไป อาจต้องลงในรายละเอียดว่าให้เล่นได้วันละกี่ชั่วโมง สัปดาห์ละกี่วัน บางบ้านก็ตั้งกฎไว้เลยว่าจะให้เล่นได้เฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์เท่านั้น


  • ·        ส่งเสริมให้ลูกใช้ประโยชน์จากเกมคอมพิวเตอร์ในแง่การศึกษาให้มากขึ้น เช่น คัดเลือกโปรแกรมเกมที่เหมาะสมกับอายุให้ลูก เช่น โปรแกรมสอนวิชาต่างๆ เกมการศึกษา หรือการสอนภาษาอังกฤษ ช่วยลูกค้นหาข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทางเว็บไซต์ ในอินเตอร์เน็ต
  • ·        หากิจกรรมเสริมที่น่าสนใจ เช่น ชวนลูกไปเล่นกีฬา สร้างสรรค์งานศิลปะ ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร อ่านหนังสือ ทัศนศึกษา พ่อแม่ต้องพยายามหากิจกรรมที่น่าสนุกกว่าเพื่อเอาชนะความสนุกที่ลูกได้จากเกมให้ได้










สภาพปัญหาสังคม สิ่งทีเกิดขึ้น
          
             นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวถึงโทษของการที่เด็กติดเกมส์ว่า การเล่นเกมส์หรือใช้อินเตอร์เน็ตนานๆส่งผลเสียต่อสุขภาพกาย แสบตา ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย โทษต่อสุขภาพจิต เช่น เกิดความขัดแย้งขึ้นในจิตใจภายในหรือขัดแย้งกับผู้คนรอบข้างได้ เพราะเคยชินกับการได้ดังใจ นอกจากนี้อาจรุนแรงถึงโทษต่อการผลิตผลงานของชีวิต เช่น สอบตก เสียการเรียน เสียความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว หรืออาจถึงขั้นเสียผู้เสียคนจากการมีพฤติกรรมอันธพาล ขโมยเงิน มั่วสุมเล่นการพนัน นำไปสู่การใช้ยาเสพติด หรือมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม
          โดย นพ.บัณฑิต กล่าวต่อว่า นอกจากส่งผลเสียต่อสุขภาพกายแล้ว การที่เด็กนั่งเล่นเกมส์อยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ ทำให้เด็กไม่ได้ทำกิจกรรม และ ไม่ได้เรียนรู้ด้วยตัวเองมากนัก ในขณะที่เด็กเป็นวัยที่จะต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการวิ่งเล่น          ออกกำลังกาย และมีสังคมกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง และคนรอบข้าง เพื่อพัฒนา ทักษะทางกาย, อารมณ์, สังคม และจิตใจ และมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่ พบว่า เด็กที่ติดเกมส์ ก่อให้เกิดนิสัยก้าวร้าวและมีปัญหาทาง ด้านอารมณ์รุนแรงในโรงเรียน
          ด้าน ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม หัวหน้าศูนย์ให้คำปรึกษาสุขภาพจิต มหาวิทยาลัย              ศรีนครินทรวิโรฒ พูดถึงปัญหาเด็กติดเกมส์ว่า จากการศึกษา พบว่า อายุของเด็กที่เริ่มติดเกมส์ได้ลดลงจากอายุ 12 ปี เหลือประมาณ 10 ปี และว่าส่วนใหญ่เด็กที่ผู้ปกครองพามารักษา จะอยู่ในสภาพอ่อนเปลี้ยเพลียแรง เล่นเกมส์ไม่ไหวแล้ว เล่นจนตาช้ำ น้ำตาไหลตลอดเวลา บางคนก็เส้นประสาทตึง ปวดหัวมาก บางคนเป็นมากอาจเส้นประสาทแตก สลบอยู่หน้าคอมพิวเตอร์และ อาจถึงขั้นวิกลจริตหรือเป็นบ้าได้
          ปัญหาเด็กติดเกมส์ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาสำคัญใน ประเทศไทยเท่านั้น ในต่างประเทศก็ประสบปัญหาเช่น เดียวกัน ในขณะที่ผู้ปกครองยังไม่ให้ความสำคัญ อีกทั้งเด็กยังสามารถเข้าถึงเกมส์ได้ง่าย ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเกมส์เพลย์ เกมส์ตู้ เกมส์คอมพิวเตอร์ หรือ เกมส์ออนไลน์ ที่ทำให้เด็กสามารถเล่นเกมส์ได้ทั้งที่บ้าน ห้างสรรพสินค้า หรือร้านอินเทอร์เน็ต
          เกมส์ในยุคนี้ยังมีความหลากหลาย ทั้งภาพ แสง สี และเสียง ความสมจริงที่ผู้เล่นสามารถสวมบทบาทเป็นตัวละครในเกมส์ได้ ทำให้เข้าถึงอารมณ์ในเกมส์ และเกมส์ออนไลน์ยังเป็นช่องทางให้เด็กได้มีเพื่อนใหม่ที่มีความสนใจเรื่องเกมส์เช่นเดียวกัน ประกอบกับเวลาว่างที่เด็กบางคนมีมากจนเกินไป การขาดระเบียบวินัยในการจัดการตนเอง ทำให้เด็กติดเกมส์ในที่สุด
          กระทรวงไอซีทีเองไม่ได้นิ่งนอนใจเร่งหามาตรการควบคุมปัญหาเด็กติดเกมส์ ซึ่งปัญหาเด็กติดเกมส์เริ่มรุนแรงขึ้น จึงต้องเร่งหามาตรการควบคุม โดยที่ผ่านมากระทรวงไอซีทีได้ออกมาตรการต่างๆเพื่อแก้ปัญหาเด็กติดเกมส์ เช่น การสร้างคำเตือนบนหน้าจอ การควบคุมเซิร์ฟเวอร์เกมส์ และการสร้างกิจกรรมทางเลือกในด้านบวกให้กับเด็กๆ
           นอกจากนี้ทางกระทรวงยังได้กำหนดแนวทางการควบคุมร้านอินเทอร์เน็ตไว้ 2 แนวทาง คือ ร้านอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่เดิมและร้านอินเทอร์เน็ตที่เปิดใหม่ โดยร้านอินเทอร์เน็ตเดิมจะให้ชมรมกู๊ดเน็ตเข้าไปยกระดับคุณภาพ และควบคุมกันเองเพื่อให้ตรงตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงไอซีทีกำหนดไว้เกี่ยวกับ การให้บริการร้านอินเทอร์เน็ต ว่า สภาพแวดล้อมต้องดี ปลอดโปร่ง   มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่มีมลพิษ ห้ามเล่นการพนันและห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าใช้บริการก่อนเวลา 14.00 น. และ 22.00 น.
         การที่เด็กนั้นใช้เวลาว่างมาเล่นเกมส์ ไม่สนใจแม้แต่การลุกไปทานข้าวกับครอบครัว ไม่สนใจในการเรียน การงาน และกิจกรรมอื่น ๆ มองข้ามความสำคัญของคนรอบตัว หมกมุ่นอยู่หน้าจอทั้งวัน มีความสุขเมื่อได้เล่น จะหงุดหงิดโมโหจนถึงขั้นแสดงออกไปในแนวทางก้าวร้าวเมื่อไม่ได้เล่น หรือถูกขัดคอขณะเล่น อาการเหล่านี้ถือได้ว่าเด็กคนนี้ ติดเกมส์คล้ายคนติดสารเสพติด
          “เด็กติดเกมส์จึงกลายเป็นปัญหาที่ทุกๆฝ่ายต้องเร่งแก้ไขเอาใจใส่ดูแลอย่างเร่งด่วน โดยเริ่มที่ตัวบุคคลเป็นหลัก ทั้งเด็ก พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู และคนรอบข้าง โดยสามารถสังเกตพฤติกรรมการติดเกมส์ของเด็กง่ายคือ หากเด็กเริ่มสนุกสนาน อยากรู้ อยากเห็น อยากลองเล่นเกมส์ นั่นหมายถึงเด็กเริ่มชอบเกมส์แล้ว หากเด็กเริ่มรู้สึกภูมิใจ สนุกสนานเริ่มคุยเรื่องในเกมส์มากขึ้น พร้อมทั้งเริ่มเล่นในยามว่าง นั่นแสดงว่า เด็กเริ่มหลงใหล คลั่งไคล้เกมส์ และเมื่อพบว่าเด็กเล่นเกมส์อย่างเดียว โดยไม่สนใจอย่างอื่น หมกมุ่นอยู่กับเกมส์ทั้งวัน ครุ่นคิดแต่เรื่องเกมส์ มองเห็นภาพเกมส์ในสมองตนเอง แสดงออกในทางก้าวร้าว นี่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เด็กติดเกมส์แล้ว
          ที่น่าห่วงเพราะในปัจจุบันเกมส์ตามท้องตลาด ล้วนเป็นเกมส์เกี่ยวกับการต่อสู้ และสงคราม มีการรบราฆ่าฟันกัน และมีความรุนแรงแฝงอยู่ภายในเกมส์นั้นๆ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการลอกเลียนแบบของเด็กและเยาวชน เป็นการบ่มเพาะพฤติกรรมด้านลบ และเด็กจะเรียนรู้พฤติกรรมแบบผิดๆไป
          ภัยร้ายบนโลกอินเทอร์เน็ต โลกของการสื่อสาร สิ่งทำให้ทุกอย่างในโลกย่อส่วนมาอยู่ใกล้แค่คลิก! เข้าไป สิ่งเหล่านี้ทั้งทันสมัย สวยงาม จนทำให้หลายคนอาจมองข้ามปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา โดยไม่ได้คาดคิดว่าจุดเล็กๆอย่างเกมส์คอมพิวเตอร์ จะนำพามาซึ่งปัญหาสังคมต่อไปในอนาคต ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไข

ที่มา อารยา สิงห์สวัสดิ์.เด็กติดเกมส์...ภัยร้ายโลกไซเบอร์

http://www.thaihealth.or.th /node/4118

เด็กติดเกมคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคนใกล้ชิดหรือตัวเราเองติดเกมหรือไม่
รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มีคำตอบมาให้ทุกคนได้คลายข้อสงสัย
ในบทความเรื่อง "เด็กติดเกม" ...

  • ลักษณะของเด็กติดเกม
1. ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นในเวลาที่กำหนด ทำให้ใช้เวลาในการเล่นนานติดต่อกันหลายๆชั่วโมงหรือเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน เพิ่มเป็นหลายชั่วโมงต่อวัน บางคนเล่นข้ามวันข้ามคืน
2. หากถูกบังคับให้เลิกหรือหยุดเล่นจะต่อต้าน หรือมีปฏิกริยาหงุดหงิดไม่พอใจอย่างรุนแรง บางคนถึงขั้นก้าวร้าว
3. การเล่นของเด็กมีผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบของเด็ก เช่น เด็กไม่สนใจการเรียน ไม่สนใจที่จะทำการบ้าน หนีเรียนหรือแอบหนีออกจากบ้านเพื่อจะไปเล่นเกม การเรียนตกลงอย่างมาก ละเลยการเข้าสังคม หรือทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
4. บางรายอาจมีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆร่วมด้วย เช่น โกหก ลักขโมย (เพื่อนำเงินไปเล่นเกม) ดื้อต่อต้านแยกตัว เก็บตัว ฯลฯ





ที่มา   http://game.sanook.com/952807/


ปัญหาเด็กติดเกมมีสาเหตุและวิธีการแก้ไขอย่างไร?


คอมพิวเตอร์มีคุณประโยชน์มากมาย ถ้าใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม แต่ในขณะเดียวกันถ้าพ่อแม่ไม่ควบคุมการใช้ โดยเฉพาะการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ก็อาจมีโทษมหันต์ต่อลูกได้ การสร้างความเข้าใจระหว่างพ่อแม่และลูกเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหา การศึกษาสาเหตุของการติดเกมของลูกซึ่งอาจจะไม่ได้มากจากลูกเพียงอย่างเดียว บางครอบครัวพ่อแม่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกติดเกม การเลือกหาวิธีเพื่อการแก้ไขปัญหาก็ต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย ดังนี้

·        สาเหตุที่เกิดจากผู้ปกครอง พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้เด็กเล่นเกม หรือคอมพิวเตอร์ให้แน่ชัดลงไปเป็นเวลาที่แน่นอนหรือกำหนดว่ากี่ชั่วโมง พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสนใจในเนื้อหาและรายละเอียดของเกมที่ลูกเล่น หรือไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแบ่งชนิดของเกมตามความเหมาะสมของอายุของผู้เล่นตามที่กำหนด เด็กส่วนใหญ่เล่นเกมหลังเวลาเลิกเรียน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ผู้ปกครองยังไม่เลิกงาน ทำให้ไม่มีเวลาดูแลลูก

·        สาเหตุที่เกิดจากตัวเด็กเอง เด็กอาจเล่นเกมเกินเวลากว่าที่ตั้งใจไว้ หรือเล่นเพราะมีสังคมเพื่อนอีกกลุ่มที่รอคอยการพูดคุยสนทนาถึงความก้าวหน้าของการเล่นเกมที่จะแข็งขันของระดับความยากของเกมซึ่งเป็นการสร้างความภาคภูมิใจหากมีระดับความยากที่สูงหรือมีแต้มคะแนนที่สูงกว่าเพื่อน


·        สาเหตุความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ที่มีรูปแบบ เนื้อหา แสง เสียง วิธีการ ความรวดเร็ว ความแปลกใหม่ในเทคนิคต่างๆ ทำให้เกิดความตื่นเต้นเร้าใจ เหมือนจริงมากขึ้นและในบางครั้งก็เกินความเป็นจริงมากเกินไป เหมือนเป็นการสร้างจินตนาการเพ้อฝันให้เด็กลุ่มหลง เนื้อหาของเกมในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นเรื่องสมมติและจินตนาการ ไม่ค่อยมีความรุนแรงเกี่ยวข้องกับมนุษย์ กลายเป็นเรื่องราวที่มีความรุนแรงและเหมือนชีวิตจริงมากขึ้น และที่สำคัญกว่านั้นคือ มีการให้รางวัลหรือการได้รับการยกย่องชมเชยเมื่อมีการกระทำที่ผิดกฎเกณฑ์ ต่อต้านสังคมหรือผิดกฎหมายขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม



ที่มา   http://taamkru.com/th/





ปัญหาเด็กติดเกมมีความสำคัญอย่างไร?


การติดเกมคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อเด็กหลายด้าน เช่น ปัญหาการเรียน การทำงานสุขภาพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว และสังคม และมีปัญหาพฤติกรรมหลายอย่างตามมา เช่น พูดปด ลักขโมย ก้าวร้าว หนีเรียน หนีออกจากบ้าน ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กที่ติดเกมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว มีทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ การนั่งเล่นเกมคอมพิวเตอร์นานๆ ทำให้เกิดความเครียด หงุดหงิดโกรธง่าย และก้าวร้าว ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมมือกันในการป้องกันและหาแนวทางในการแก้ไข เพราะเด็กปัจจุบันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเข้าไปสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ซึ่งมีอยู่และเข้าถึงได้ง่ายมากในสังคมปัจจุบัน ปัญหาเด็กติดเกมจึงพบได้บ่อยขึ้นในครอบครัวไทยยุคนี้ ซึ่งสร้างความลำบากใจให้แก่พ่อแม่ เนื่องจากไม่รู้จะบังคับให้ลูกเลิกเล่นเกมอย่างไร อีกทั้งเด็กบางคนติดเกมจนไม่สนใจเรียน ทำให้ผลการเรียนตกลงเรื่อย ๆ หรือบางคนเล่นจนไม่รู้เวลากินเวลานอนกันเลยทีเดียว ทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเล่นเกมไปเป็นเวลาแห่งการเรียนรู้ที่เกิดประโยชน์ และการสร้างเสริมสุขภาพ




ที่มา  http://taamkru.com/th/